มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ
1. ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ (Human Relations of Organization)
การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเพื่อดำเนินกิจกรรมอันมีเป้าหมายเดียวกัน หรือแตกต่างกันเป็นจำเพาะของกลุ่ม ในการอยู่ร่วมกันจะต้องมีการประสานสัมพันธ์ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบและส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านส่วนตัว ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้ถือว่าจะต้องเป็นความสัมพันธ์ทั้งสิ้น ทั้งระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลต่อองค์การ
1.1 ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)คำว่า “มนุษยสัมพันธ์” เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า “มนุษย์” และ “สัมพันธ์” ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้ความหมายว่า ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542: 238 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 44) มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์” ไว้มากพอสมควร ซึ่งจะขอยกตัวอย่างเพียงบางประการ ดังต่อไปนี้
เดวีส (Davis, 1957: 9 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 45) อธิบายว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจคนให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจเป็นพื้นฐาน
ฟลิปโป (Flippo, 1966: 15 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 45) ให้ความหมายว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรวมกลุ่มคนให้ทำงานร่วมกันในลักษณะที่มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่ได้ตั้งไว้ หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ที่มุ่งหมายให้เกิดความร่วมมือในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และความเข้าใจระหว่างกันและกัน
เกลเลอร์แมน (Gellerman, 1966: 12 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 45) ให้คำจำกัดความของคำว่า มนุษยสัมพันธ์ว่าหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การใดองค์การหนึ่ง ถ้าเป็นความสัมพันธ์ที่ดีก็จะก่อให้เกิดความรู้สึกรักใคร่และเข้าใจดีระหว่างกันและกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดสัมฤทธิผลในการทำงาน แต่ถ้าเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ดีย่อมจะก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ความไม่พอใจ หรือความขัดแย้งกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการทำงาน
ดูบริน (Dubrin, 1981: 4 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 45) อธิบายว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงศิลปะและการปฏิบัติในการนำความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์มาใช้ในการติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเองและของส่วนรวม
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง สภาพความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างราบรื่น หรือทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและทุกฝ่ายต่างก็มีความพึงพอใจทุกด้าน (นิพนธ์ คันธเสวี 2525: 4 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 45)
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องระหว่างมนุษย์อันจะเป็นสะพานทอดไปสู่การสร้างมิตร ชนะมิตร และจูงใจคน รวมทั้งการสร้างหรือพัฒนาตนเองให้เป็นที่รู้จักรักใคร่ชอบพอแก่คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากบุคคลทุกฝ่าย เป็นการสร้างตนให้เป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งแสดงให้เห็นลักษณะสำคัญของการเป็นผู้นำในอนาคตอีกด้วย (วิจิตร อาวะกุล, 2528: 24 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 45)
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคลในสังคม ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวและที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดความรักใคร่ศรัทธา ช่วยเหลือและร่วมมือร่วมใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายทั้งนี้เพื่อให้ตนเองมีความสุข ผู้อื่นมีความสุข และสังคมมีประสิทธิภาพ (ม.ล.ว. สมพร สุทัศนีย์, 2535: 17 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 46)
จากความหมายต่างๆของคำว่ามนุษยสัมพันธ์ดังกล่าวข้างต้น กล่าวสรุปได้ว่า มุนษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการประพฤติปฏิบัติตนทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการกระทำของตนที่กระทำต่อบุคคลอื่นให้สามารถครองใจเขาได้ เพื่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันที่ดีต่อกัน เกิดความพอใจ รักใคร่นับถือ ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทำงานด้วยความเต็มใจและมีความสุข ช่วยให้เป้าหมายของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ความหมายขององค์การ (Organization)
มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “องค์การ” ดังจะยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางประการดังต่อไปนี้
ซีน (Schein, 1972: 9 อ้างถึงใน ธงชัย ช่อพฤกษา, 2539: 100) ได้ให้ความหมายขององค์การว่า องค์การ คือ ความร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีเหตุผลของบุคคลจำนวนหนึ่ง เพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ชัดเจนร่วมกัน โดยการแบ่งงานและหน้าที่ และมีลำดับขั้นของอำนาจบังคับบัญชาและมีความรับผิดชอบ
เวเบอร์ (Weber, 1947: 12 อ้างในถึง ธงชัย ช่อพฤกษา, 2539: 100) ให้ความหมายขององค์การว่า องค์การเป็นหน่วยสังคม หรือหน่วยงานซึ่งมีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ร่วมมือกันให้บริการและดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุในการผลิต
จากความหมายขององค์การที่กล่าวมา สรุปได้ว่า องค์การ คือ หน่วยงานต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคราชการ ที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ต่อกัน มีการกำหนดสถานภาพและบทบาทลดหลั่นกันไป เพื่อการทำงานร่วมกันมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
1.3 ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ (Human Relations of Organization)
จากความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์” และ คำว่า “องค์การ” ทำให้ได้ความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ” ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ของบุคลากรที่อยู่ในรูปแบบขององค์การ ซึ่งมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อบุคคล กลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคลด้วยกัน เพื่อให้มีความผูกพันเป็นไมตรีต่อกัน มีความสุขในการทำงานร่วมกันในองค์การ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ยึดเหยี่ยวให้บุคลากรอยู่กับองค์การที่มีทัศนคติที่ดีต่องานและองค์การไว้ได้
ซีน (Schein, 1972: 9 อ้างถึงใน ธงชัย ช่อพฤกษา, 2539: 100) ได้ให้ความหมายขององค์การว่า องค์การ คือ ความร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีเหตุผลของบุคคลจำนวนหนึ่ง เพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ชัดเจนร่วมกัน โดยการแบ่งงานและหน้าที่ และมีลำดับขั้นของอำนาจบังคับบัญชาและมีความรับผิดชอบ
เวเบอร์ (Weber, 1947: 12 อ้างในถึง ธงชัย ช่อพฤกษา, 2539: 100) ให้ความหมายขององค์การว่า องค์การเป็นหน่วยสังคม หรือหน่วยงานซึ่งมีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ร่วมมือกันให้บริการและดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุในการผลิต
จากความหมายขององค์การที่กล่าวมา สรุปได้ว่า องค์การ คือ หน่วยงานต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคราชการ ที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ต่อกัน มีการกำหนดสถานภาพและบทบาทลดหลั่นกันไป เพื่อการทำงานร่วมกันมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
1.3 ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ (Human Relations of Organization)
จากความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์” และ คำว่า “องค์การ” ทำให้ได้ความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ” ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ของบุคลากรที่อยู่ในรูปแบบขององค์การ ซึ่งมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อบุคคล กลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคลด้วยกัน เพื่อให้มีความผูกพันเป็นไมตรีต่อกัน มีความสุขในการทำงานร่วมกันในองค์การ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ยึดเหยี่ยวให้บุคลากรอยู่กับองค์การที่มีทัศนคติที่ดีต่องานและองค์การไว้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น